Games News

9 อาหาร และ สิ่งของ ไม่ควรนำมาใส่บาตร อาจทำให้พระสงฆ์ต้องอาบัติได้

0 0
Read Time:4 Minute, 24 Second

ชวนสายบุญมาเช็กให้ชัวร์ ว่าอาหารหรือสิ่งของต้องห้ามอะไรที่ไม่ควรนำมาใส่บาตร หากปฏิบัติอย่างถูกต้องจะได้รับอานิสงส์ 5 ประการของการทำบุญตักบาตร ที่ตามพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ

1) เป็นที่รักของผู้คนทั้งหลาย

2) คนดีมีปัญญาย่อมชอบคบค้าสมาคมด้วย

3) มีชื่อเสียงที่ดีงาม

4) เป็นผู้ไม่ห่างไกลธรรม

5) เมื่อตายแล้วย่อมเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์

แต่ก็ยังมีข้อควรระวังสำหรับอาหารที่ไม่ควรใส่ ที่ศาสนิกชนพึงรู้ไว้ ดังนี้

อาหารที่ต้องห้ามใส่บาตรให้กับพระภิกษุ

เนื้อต้องห้าม พระวินัยบัญญัติทุกสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง โดยเนื้อที่ทรงห้ามสำหรับพระภิกษุมี 10 ชนิด คือ

  • เนื้อมนุษย์
  • เนื้อช้าง
  • เนื้อม้า
  • เนื้อสุนัข
  • เนื้อราชสีห์
  • เนื้องู
  • เนื้อหมี
  • เนื้อเสือโคร่ง
  • เนื้อเสือดาว
  • เนื้อเสือเหลือง

หากญาติโยมนำไปถวายจะถือว่าผิดหลักพระธรรมวินัย ห้ามใส่บาตรด้วยเนื้อเหล่านี้เป็นอันขาด

เนื้อดิบ ปกติแล้วพระภิกษุสามารถฉันเนื้อได้ ไม่ผิดหลักเว้นแต่จะเข้า 10 เนื้อต้องห้าม แต่เนื้อดิบ อาทิ ซอยจุ๊ ซาชิมิ ลาบก้อย ที่กึ่งดิบกึ่งสุก หรือเนื้อดิบล้วน ๆ ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งแก่การถวายให้พระภิกษุฉัน เนื่องจากหากฉันเข้าไปจะต้องอาบัติ อีกทั้งการรับประทานอาหารอย่างไม่ถูกสุขอนามัยอาจสาเหตุของการป่วยเป็นโรคพยาธิ และโรคแบคทีเรียต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้

ผลไม้มีเมล็ด หากต้องการถวายผลไม้ให้แก่พระภิกษุ แนะนำให้ถวายผลไม้ที่ไร้เมล็ด หากผลไม้มีเมล็ดอ่อน แพร่พันธุ์ไม่ได้ สามารถถวายได้ แต่ถ้าเมล็ดนั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้ ไม่ควรถวาย เพราะภิกษุรับประเคน และเผลอฉันเมล็ดเข้าไปจะต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ดังนั้น พระภิกษุจึงต้องทำกัปปิยะ เสียก่อน คือทำให้สุกหรือเอาเมล็ดทิ้ง จึงจะสามารถฉันได้โดยไม่ผิดพระธรรมวินัย

เครื่องดื่มบางชนิดคำพูดจาก เว็บสล็อต777

ทราบดีอยู่แล้วว่า พระภิกษุสามารถฉันน้ำปานะได้ แต่น้ำปานะที่ไม่สมควรตามหลักพระวินัย ได้แก่

  • น้ำแห่งธัญชาติ (ข้าว) 7 ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้
  • น้ำผลไม้ 9 ชนิด คือผลตาล มะพร้าว ขนุน สาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม และฟักทอง
  • น้ำจากอาหารอื่น ๆ เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ มีถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ และงา แม้จะต้มจะกรอง ทำเป็นเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ

ซึ่งปานะนี้ให้สุกด้วยแสงแดดเท่านั้น ห้ามให้สุกด้วยไฟ และน้ำปานะจัดเป็นยามกาลิก(ฉันชั่วคราว) จึงควรเก็บไว้ฉันได้ตลอด 1 วัน กับ 1 คืนเท่านั้น

น้ำมัน พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุใดออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

อาหารที่ไม่ควรใส่บาตร ไม่แนะนำ

ข้าวสาร อาหารแห้ง การที่หลายคนถวายข้าวสาร อาหารแห้งเป็นปกติ และพบได้ทั่วไป ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม เนื่องจากตามพระธรรมวินัย พระภิกษุไม่สมควรทำอย่างคฤหัสถ์ คือประกอบอาหารเอง ควรประพฤติขัดเกลาและศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น หากจะถวายข้าวสาร อาหารแห้ง ควรถวายให้กับวัด เพื่อให้ทางวัดเป็นผู้จัดเก็บเข้าโรงทาน สำหรับให้ฆราวาสได้ประกอบอาหารต่อไปจะเหมาะสมกว่า

อาหารกึ่งสำเร็จรูป เหตุผลเดียวกันกับการถวายข้าวสาร อาหารแห้ง เพราะพระภิกษุไม่สามารถทำอาหารเองได้ และจะเก็บอาหารไว้ฉันเองในวันต่อ ๆ ไป ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น การถวายอาหารกึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม อีกประการสำคัญคือ ส่วนประกอบและกรรมวิธีของอาหารกึ่งสำเร็จรูป มีโภชนาการที่ต่ำกว่าอาหารทำสด ใหม่ และเต็มไปด้วย ไขมัน โซเดียม หรือคาร์โบไฮเดรตที่เกินพอดี ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของพระภิกษุได้

ขนมหวาน จะพบการถวายขนมหวาน อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด หรือขนมไทยต่าง ๆ ให้แก่พระภิกษุอยู่เป็นประจำซึ่งการฉันขนมหวานไม่ได้ผิดหลักพระธรรมวินัย แต่ไม่เหมาะสม เนื่องจากขนมหวานอาจจะมีส่วนประกอบที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นหากถวายต้องคำนึงถึงน้ำตาล กะทิ หรือส่วนประกอบที่จะเป็นผลเสียต่อร่างกายพระภิกษุ

เงิน พระพุทธเจ้าเคยกล่าวกับพระอานนท์ไว้ว่า เงินเปรียบเสมือนอสรพิษ ที่คอยแว้งกัดและให้โทษ กับผู้มีหรือครอบครองมันไว้ พระพุทธองค์จึงไม่สนับสนุนให้พระสาวกมีหรือครอบครองเงินไว้ แต่ถ้า ต้องรับก็ต้องรับไว้ด้วยจิตไม่คิดยินดี และถ้าเงินนั้นไม่ได้รับจากผู้ถวายด้วยเจตนาแล้วครอบครองไว้ พระสงฆ์จะต้องปาราชิก การถวายเงินหรือปัจจัยไม่ได้มีความจำเป็น หรือเป็นธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติแต่อย่างใด

ข้อควรระวังในการตักบาตร

1. อย่าให้ทัพพีภาชนะโดนบาตร

2. อย่าชวนพระสนทนาขณะใส่บาตร

3. ควรถอดรองเท้าทุกครั้ง

4. ไม่ควรใส่สิ่งของที่ใหญ่เกินไป เช่น ขวดน้ำ ข้าวถุงใหญ่

5. ควรจัดอาหารที่หาได้สะดวก

6. ไม่ควรใส่อาหารกระป๋อง ของดิบ หรือของเหลือที่รับประทานแล้ว

ที่มามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %